สมาชิก

รหัสสมาชิก 
รหัสผ่าน 
ฐานข้อมูลออนไลน์
  Facebook ห้องสมุด
 google.com Google
  แนะนำหนังสือ
ฐานข้อมูล หนังสือ


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

ฐานข้อมูล สื่ออิเล็กทรอนิกส์


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

คำค้น

เลขทะเบียน 63125772 63225772
ISBN 9789749990698
เลขเรียกหนังสือ ร อ22ก 2549
ชื่อเรื่อง
  • การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย : รายงานการวิจัย = Development of information literacy enhancement model fot Thai society / อาชัญญา รัตนอุบล ... [และคนอื่นๆ]
  • สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
    ลักษณะรูปเล่ม 250 หน้า
    หมายเหตุ โครงการวิจัยบูรณาการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ รองศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
    หัวเรื่อง
  • เทคโนโลยีทางการศึกษา
  • ผู้แต่งเพิ่ม
  • อำไพ ตีรณสาร
  • คัดนางค์ มณีศรี
  • กวิสรา รัตนากร
  • ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล
  • รับขวัญ ภูษาแก้ว
  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
  • วรรัตน์ อภินันท์กูล
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์
  • ผู้แต่งเพิ่ม(นิติบุคคล)
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชื่อเรื่องเพิ่มเติม
  • Development of information literacy enhancement model fot Thai society
  • สถานที่จัดเก็บ ห้องสมุดอาจารย์ (แถบสีชมพู)
    Book Review การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริทสร้างการรู้สารสนเทศของคนไทยและนำไปทดลองปฏิบัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้หลักการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศตามแนวคิดหลักการ NET คือ Networking, Edutainment, และ Tailor-made ขั้นตอนการวิจัยมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบ โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 15 โรงเรียน ผู้วิจัยทำการจับคู่คะแนนการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนแต่ละคนเพื่อทำการวิเคราะห์ความแตกต่างของระดับการรู้สารสนเทศของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ปรากฏว่านักเรียนที่มีคะแนนทั้งก่อนและหลังการทดลองจำนวนทั้งสิ้น 3,619 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 จำนวน 500 คน นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 2,940 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 179 คน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ระดับการรู้สารสนเทศของนักเรียน พบว่า เมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตของทักษะการรู้สารสนเทศแต่ละขั้น และคะแนนรวมทั้งจากการประเมินพฤติกรรมและการทดสอบด้วยข้อสอบปรนัยพบว่า คะแนนการรู้สารสนเทศหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง เมื่อวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่า (T-Test) พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีคะแนนทักษะการรู้สารสนเทศหลังการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการรู้สารสนเทศสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการทดลองพบว่า มีสหสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และเมื่อพิจารณาค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนการรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6) เห็นได้ว่า คะแนนการรู้สารสนเทศหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองเพียงเล็กน้อย เมื่อทดสอบความแตกต่างด้วยค่าที (t-test) พบว่า ความแตกต่างของค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนการรู้สารสนเทศแต่ละขั้นตอน คะแนนรวม และคะแนนจากข้อสอบปรนัยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการทดลองพบว่า คะแนนบูรณาการวิถีการใช้งานก่อนและหลังการทดลองมีสหสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนจากข้อสอบปรนัยก่อนการทดลองและหลังการทดลองมีสหสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางค่อนข้างต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 รูปแบบการรู้สารสนเทศประกอบด้วย การส่งเสริมความเข้าใจแก่ผู้บริหาร การอบรมพัฒนาครูเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ การสนับสนุนทรัพยากรการเรียนรู้สารสนเทศ โดยยึดหลัก Networking (N) Edutainment (E) และ Tailor-made (T) ผ่านกิจกรรมการรู้สารสนเทศ ดังนี้ Website CD-ROM คู่มือครู การ์ตูนสารสนเทศ พัฒนาเป็นแผนการสอนของครู ผลลัพธ์ที่ได้คือการรู้สารสนเทศของผู้เรียนตามขั้นตอน ดังนี้ 1. กำหนดภารกิจ 2. ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง 3. ประเมินสารสนเทศ 4. บูรณาการวิถีการใช้งาน ผลของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ ตามความคิดเห็นของคณาจารย์ พบว่า ส่วนใหญ่เริ่มเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่เด็กนักเรียนของตน และพยายามคิดค้นกลยุทธ์ในการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับธรรมชาติและบริบทของแต่ละท้องถิ่น โดยครูได้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้สารสนเทศทั้งในโรงเรียนและในชุมชน ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถมีความสุขและชอบการเรียนสารสนเทศ โดยเฉพาะขั้น "ตรงจุดเข้าถึงแหล่ง" เพราะได้มีโอกาสแสวงหาความรู้ได้ตามที่ต้องการ โดยนักเรียนกำหนดสิ่งที่ตนต้องการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ทั้งจากโลกแห่งความเป็นจริงภายในและภายนอกโรงเรียน และโลกอิเล็คทรอนิกส์
  • การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย : รายงานการวิจัย = Development of information literacy enhancement model fot Thai society / อาชัญญา รัตนอุบล ... [และคนอื่นๆ]
  • เทคโนโลยีทางการศึกษา
  • อำไพ ตีรณสาร
  • คัดนางค์ มณีศรี
  • กวิสรา รัตนากร
  • ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล
  • รับขวัญ ภูษาแก้ว
  • วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
  • วรรัตน์ อภินันท์กูล
  • ไพฑูรย์ สินลารัตน์
  • สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Development of information literacy enhancement model fot Thai society
  •  ลำดับ  บาร์โค๊ด  เลขเรียก  สถานะ  ยืม
     1. [ ขอจอง ]  63125772  ร อ22ก 2549  ให้บริการ  ได้
     รายงานการวิจัย | ห้องสมุด รร.สาธิตจุฬาฯ | ห้องสมุดอาจารย์
     2. [ ขอจอง ]  63225772  ร อ22ก 2549 ฉ.2  ให้บริการ  ได้
     รายงานการวิจัย | ห้องสมุด รร.สาธิตจุฬาฯ | ห้องสมุดอาจารย์
    [25772]

     ช่วยเหลือ | ไทย / อังกฤษ | 16.2 Gold