สมาชิก

รหัสสมาชิก 
รหัสผ่าน 
ฐานข้อมูลออนไลน์
  Facebook ห้องสมุด
 google.com Google
  แนะนำหนังสือ
ฐานข้อมูล หนังสือ


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

ฐานข้อมูล สื่ออิเล็กทรอนิกส์


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

คำค้น
เลขทะเบียน 63126550
เลขเรียกหนังสือ ร อ258ก 2561
ชื่อผู้แต่ง
  • อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
  • ชื่อเรื่อง
  • การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0 : รายงานการวิจัย / โดย อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
  • สถานที่พิมพ์ กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
    ลักษณะรูปเล่ม ก-ซ, 333 หน้า
    หมายเหตุ สนับสนุนการวิจัยโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2560
    หัวเรื่อง
  • การฝึกหัดครู -- ไทย
  • ครู -- อุปทานและอุปสงค์
  • ครุศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
  • สมรรถนะ
  • ผู้แต่งเพิ่ม(นิติบุคคล)
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
  • สถานที่จัดเก็บ ห้องสมุดอาจารย์ (แถบสีแดง)
    Book Review การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย วัตถุประสงค์และขั้นตอนการวิจัยดังนี้ 1) วิเคราะห์สมรรถนะที่จำเป็นของครูในการศึกษายุค 4.0 โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน 2) วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการผลิตครูปัจจุบันในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์หลักสูตรการผลิตครูของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในสังกัดของมหาวิทยาลัยรัฐ 2 แห่งและมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2 แห่ง การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และสังเคราะห์ข้อมูลทั้ง 3 ส่วน 3) วิเคราะห์การผลิตครูของประเทศที่ประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ ได้แก่ การผลิตครูในประเทศฟินแลนด์และสิงค์โปร์ 4) พัฒนา (ร่าง) รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยการประมวลและบูรณาการข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนวิจัยที่1-3 และ 5) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับครูในการศึกษายุค 4.0 ประกอบด้วย 1) สมรรถนะแกนกลางของการศึกษายุค 4.0 10 ด้าน ได้แก่ การคิดแบบมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์การสร้างนวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการ การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต การใช้เทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ การมีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม การมีภาวะผู้นำและการมีจิตสาธารณะและ 2) สมรรถนะวิชาชีพครู 6 ด้าน ได้แก่ ความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพครู การพัฒนาหลักสูตร ความรู้ลึกในเนื้อหาวิชาและวิธีวิทยาการสอน การประเมินผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของการผลิตครูปัจจุบันในประเทศไทยพบว่าการผลิตครูในประเทศไทยค่อนข้างมีจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง ในขณะที่ผลการวิเคราะห์การผลิตครูในประเทศฟินแลนด์และสิงค์โปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการผลิตครูพบว่ามีลักษณะเด่นคือมีความเป็นวิชาชีพนิยมสูง มีกลไกการดึงดูดผู้สมัครเข้าศึกษาที่มีผลการเรียนดีและตั้งใจเป็นครู และมีวิธีการคัดเลือกที่เข้มข้นและมีหลายขั้นตอน หลักสูตรเน้นการวิจัย มีสาระครอบคลุมแก่นความรู้ของวิชาชีพครู การจัดประสบการณ์วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคปฏิบัติกับภาคทฤษฏี ให้ความสำคัญกับการคัดเลือกครูที่เลี้ยงและการสอนงาน เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและผสมผสานการใช้เทคโนโลยี มีการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการผลิตครูสำหรับการศึกษายุค 4.0 ที่ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้และปรับแก้ไขตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ใช้ชื่อว่า รูปแบบการผลิตครูที่เสริมสร้างความเป็นมืออาชีพและศักยภาพด้านนวัตกรรม และมีชื่อย่อว่า PIE TE Model และชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Professional and Innovativeness Enhancement Teacher Education Model ที่มีองค์ประกอบหลัก 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. วิสัยทัศน์และหลักการผลิตครู 2. จุดมุ่งหมายการผลิตครูและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตครู 3. แนวทางการรับเข้าศึกษา 4. หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต 5. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 6. การจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล 7. กิจกรรมพัฒนานิสิตนักศึกษาครู และ 8. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
  • อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
  • การพัฒนารูปแบบการผลิตครูเพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0 : รายงานการวิจัย / โดย อภิภา ปรัชญพฤทธิ์
  • การฝึกหัดครู -- ไทย
  • ครู -- อุปทานและอุปสงค์
  • ครุศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
  • สมรรถนะ
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
  •  ลำดับ  บาร์โค๊ด  เลขเรียก  สถานะ  ยืม
     1. [ ขอจอง ]  63126550  ร อ258ก 2561  ให้บริการ  ได้
     รายงานการวิจัย | ห้องสมุด รร.สาธิตจุฬาฯ | ห้องสมุดอาจารย์
    [26550]

     ช่วยเหลือ | ไทย / อังกฤษ | 16.2 Gold