สมาชิก

รหัสสมาชิก 
รหัสผ่าน 
ฐานข้อมูลออนไลน์
  Facebook ห้องสมุด
 google.com Google
  แนะนำหนังสือ
ฐานข้อมูล หนังสือ


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

ฐานข้อมูล สื่ออิเล็กทรอนิกส์


มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ



มีสื่อประกอบ

คำค้น
 LEADER 
 008 210629 th 000 0 tha d tha d
 016
|a 63126554
 082
|a ร |b ว274น |c 2561
 100
|a วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
 245
|a แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร : รายงานการวิจัย / |c โดย วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา
 260
|a กรุงเทพฯ : |b คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, |c 2561
 300
|a ก-ง, 141 แผ่น : |b ภาพประกอบ
 500
|a สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย กองทุนคณะครุศาสตร์ ประจำปี 2561
 505
|a การรู้สารสนเทศ -- ความเป็นมาของการรู้สารสนเทศ -- นิยามของการรู้สารสนเทศ -- องค์ประกอบของการรู้สารสนเทศ -- ขั้นตอนการรู้สารสนเทศ -- แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการรู้สารสนเทศที่พึงประสงค์ -- คุณลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ -- ทักษะการรู้สารสนเทศ และพฤติกรรมการรู้สารสนเทศ -- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร
 546
|a เนื้อเรื่องภาษาไทย ; บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
 650
|a การรู้สารสนเทศ
|a การศึกษานอกระบบโรงเรียน |x ไทย |x กรุงเทพฯ
 710
|a จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
 856
|z
 949
|a ห้องสมุดอาจารย์ (แถบสีแดง)
 520
|a การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการรู้สารสนเทศและการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานครและเพื่อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลแบบผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจพฤติกรรมการรู้สารสนเทศเก็บข้อมูลกับนักศึกษาการศึกษานอกระบบในกรุงเทพมหานคร และแบบสอบถามสภาพการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศเก็บข้อมูลกับผู้อำนวยการและครู แล้วดำเนินการตรวจสอบแนวทางโดยใช้การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษามีพฤติกรรมการรู้สารสนเทศในระดับมาก (M= 3.85, SD=0.886) โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างนักศึกษาที่มีอายุ เชื้อชาติ ศาสนา และอาชีพที่แตกต่างกันจะมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการรู้สารสนเทศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสภาพการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศ ผู้อำนวยการและครูกล่าวว่าสภาพที่เป็นอยู่ของการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง (M=3.82, SD=0.513) มีปัญหาการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศในระดับน้อย (M=2.81, SD=0.966) และมีความต้องการการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง (M=3.88, SD=0.607) ส่วนแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีดังนี้ 1. การจัดการทางกายภาพ มีมาตรการดำเนินงานดังนี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพที่เอื้อต่อการใช้สารสนเทศในการเรียนรู้ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรมีระบบเครือข่ายภายในศูนย์และมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี สภาพห้องเรียน ศูนย์การเรียนชุมชน กศน.แขวง และห้องสมุดมีบรรยากาศที่ดีในการรู้สารสนเทศ มีมุมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและสื่อการเรียนหลากหลายและเป็นปัจจุบัน มีการสำรวจสภาพแหล่งการเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนรู้สารสนเทศ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการการรู้สารสนเทศ
|a 2. การจัดการเรียนรู้ มีมาตรการดำเนินงานดังนี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรจัดสรรงบประมาณในการพัฒนานวัตกรรมหลักสูตรที่ใช้กระบวนการรู้สารสนเทศเป็นฐาน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรจัดเนื้อหาเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศบูรณาการในหลักสูตรทุกรายวิชาหรือมีรายวิชาการรู้สารสนเทศ พัฒนาหลักสูตรที่ครอบคลุมการเรียนรู้พื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดการเรียนการสอนให้รู้วิธีการค้นหาความรู้และการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการสืบค้นและการศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง สนับสนุนให้มีการอบรมหลักสูตรระยะสั้นในด้านการรู้สารสนเทศ ส่วนครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรใช้การรู้สารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบและควรกำหนดการประเมินการรู้สารสนเทศ 3. การบริหารจัดการ มีมาตรการดำเนินงานดังนี้ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรมีนโยบายระดับมหภาคด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการรู้สารสนเทศ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการรู้สารสนเทศและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังโดยมีการกำหนดนโยบาย แผนงาน โครงการ และจัดสรรงบประมาณรองรับที่เป็นรูปธรรม กำหนดอัตรากำลังที่เกี่ยวกับด้านการรู้สารสนเทศอย่างชัดเจน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกหลักเพื่อพัฒนาให้เกิดศูนย์กลางการเรียนรู้ทางการศึกษาในแต่ละพื้นที่โดยการจัดตั้งศูนย์พัฒนาครูการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมืออาชีพ ศึกษาวิจัยเรื่องการรู้สารสนเทศ ส่งเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้สารสนเทศของบุคลากรการศึกษานอกระบบที่เกี่ยวข้อง ส่วนศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในด้านการใช้สารสนเทศ ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนในศูนย์มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมสารสนเทศและมีการนำไปใช้อย่างจริงจังต่อเนื่อง ให้ครูการศึกษานอกระบบได้พัฒนาตนเองในด้านการจัดการสารสนเทศ ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรชุมชน และองค์กรเอกชนในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมสารสนเทศ และมีการพัฒนาศูนย์ดิจิทัลชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสารสนเทศที่มีคุณภาพ

 ลำดับ  บาร์โค๊ด  เลขเรียก  สถานะ  ยืม
 1. [ ขอจอง ]  63126554  ร ว274น 2561  ให้บริการ  ได้
 รายงานการวิจัย | ห้องสมุด รร.สาธิตจุฬาฯ | ห้องสมุดอาจารย์

 ช่วยเหลือ | ไทย / อังกฤษ | 16.2 Gold